วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย




สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1893)

ลักษณะการปกครอง
กษัตริย์กรุงสุโขทัย ปกครองประชาชนแบบ “พ่อปกครองลูก” หรือ “ปิตาธิปไตย” โดยถือว่ากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อของราษฎร
ราษฎรจึงเรียกกษัตริย์ว่า “พ่อขุน”
ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง

การ ปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

    1.การ ปกครองส่วนกลาง หรือเมืองหลวง หรือเมืองราชธานี คือ สุโขทัย เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์เป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง
    และเป็นศูนย์กลางของการปกครองประเทศ
    2.การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    @ หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองลูกหลวง คือ เมืองหน้าด่าน มีความสำคัญในการป้องกันเมืองหลวงและอยู่ห่างจากเมืองหลวงเป็นระยะ
    ทางเดินเท้าภายใน 2 วัน พระมหากษัตริย์จะส่งเชื้อพระวงศ์ไปดูแล
    @ หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปอาจส่งเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ไปดูแล
    @ เมืองประเทศราช คือ เมืองที่เป็นชาวต่างชาติ แต่ยอมขึ้นตรงต่อกรุงสุโขทัย โดยต้องส่งส่วยหรือราชบรรณาการเมื่อเกิดศึกสงคราม
    ต้องเกณฑ์ทหารมาร่วมรบ เมืองประเทศราชจะมีกษัตริย์ปกครองตนเอง

ด้านเศรษฐกิจ และสังคม
สมัยสุโขทัยมีเสรีภาพมาก ใครจะประกอบอาชีพใดก็ได้ ประชาชนตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดี นับถือศาสนาพุทธแบบลังกา แต่ก็ยังเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นผีสางเทวดานางไม้ด้วยสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นและทรง ให้จารึกกฎระเบียบต่าง ๆไว้ จึงอาจถือได้ว่าศิลาจารึก เป็นรัฐธรรมนูญ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของไทย ประชาชนสามารถร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุนโดยไปสั่นกระดิ่งซึ่งแขวนไว้หน้า ประตูวังแล้วพระองค์จะทรงออก
มาตัดสินคดีด้วยความยุติธรรม

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศและนครรัฐอื่น ๆ
สมัยกรุงสุโขทัยมีการติดต่อกับต่างประเทศและนครรัฐของไทยอื่น ๆเพื่อความมั่นคงและการแลกเปลี่ยนสินค้าการติดต่อกับต่างประเทศที่สำคัญ ๆ
ได้แก่ จีน มลายู ลังกา และมอญ ส่วนใหญ่ติดต่อกันในด้านการค้า
การติดต่อกับนครรัฐ อื่น ๆ ที่เป็นคนไทยด้วยกัน ได้แก่ พระยามังรายเจ้าเมือง
เชียงใหม่ พระยางำเมือง เจ้าเมืองพระยา

สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช (พ.ศ.1893 - 2475)

สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
กรุงศรีอยุธยาสถาปนา เมื่อปี พ.ศ.1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) สมัยกรุงศรีอยุธยามีการปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช โดยสมบูรณ์แบบ คืออำนาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อถือตามคติพราหมณ์ตามแบบพวกเขมรว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจ
จากสวรรค์ ฐานะของกษัตริย์จึงเป็น “สมมติเทพ” ทรงมีอำนาจที่จะกำหนดชะตาชีวิตของใครก็ได้จึงเรียกระบบการปกครองนี้ว่า “ระบบเทวสิทธิ์”(Divine Right) ลักษณะการปกครองเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือ “เจ้าปกครองไพร่ ฐานะของกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างไกลกัน ข้าราชบริพารเป็นสื่อกลางระหว่างกษัตริย์ และประชาชน จึงเกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย หรือศักดินาขึ้นระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาเกิดขึ้นเพราะกรุงศรีอยุธยา
อยู่ในสภาวะสงครามตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องให้พลเมืองทุกคนอยู่ในสังกัดของเจ้าขุนมูลนายเพื่อว่าเมื่อมี ศึกสงครามพระมหากษัตริย์จะได้สั่งการ
ให้เจ้าขุนมูลนายเกณฑ์ไพร่พลมาช่วยทำสงครามป้องกันบ้านเมืองได้พระเจ้าอู่ ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) ทรงวางระบบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ โดยมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนาเป็นผู้ดูแลกิจกรรมหลัก
4 หลักของการบริหารราชการแผ่นดินการปกครอง
ส่วนภูมิภาคหรือหัวเมืองยังคงใช้ระบบเดียวกับสมัยสุโขทัย คือ มีหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช

สมัยพระบรมไตรโลกนาถ - สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) มีการปรับปรุงระบบบริหารใหม่โดยแยกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนหัวหน้าฝ่าย พลเรือน เรียกว่า
“สมุหนายก” รับผิดชอบด้านการบริหารพลเรือนเกี่ยวกับ เมือง วัง คลัง นา หัวหน้าฝ่ายทหาร เรียกว่า “สมุหกลาโหม” รับผิดชอบด้านการทหารและป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้า กรมทหารราบ ส่วนในด้านภูมิภาคได้มีการปฏิรูปการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ
เมืองหลวง
มากขึ้นขยายเขตหัวเมืองชั้นในให้กว้างขวางขึ้น หัวเมืองชั้นนอกให้เรียกเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลักษณะความสำคัญและขนาดของพื้นที่ และส่งพระราชวงศ์
หรือขุนนางไปดูแล ต่างพระเนตรพระกรรณ เมืองประเทศราชยังคงให้ปกครองตนเอง และส่งบรรณาการ 3 ปีต่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระเพทราชา)
จึงมีการปรับปรุงระบบการปกครองอีกครั้งหนึ่ง โดยแยกหัวเมืองนอกเขตราชธานีเป็น 2 ภาค หัวเมืองภาค
เหนือให้สมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองภาคใต้ให้สมุหกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบดูแล ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนเช่นกัน
ในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบอยุธยาตอนปลายแต่บทบาทกษัตริย์ในฐานะสมมติเทพ เริ่มค่อย ๆ
ลดความสำคัญลง โดยเฉพาะรัชกาลที่ 4 ทรงดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการทั้งหลาย จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น เหมือนสมัยสุโขทัยในด้านการปกครอง มีการปรับปรุงหัวเมืองภูมิภาค 3 ส่วน คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ สังกัด
สมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้ สังกัดสมุหกลาโหม หัวเมืองชายทะเลตะวันออก และเมืองท่า สังกัดกรมท่า

สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2411 - 2475)
สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เรียกว่า “การปฏิรูปการปกครอง”อันนำมาซึ่งความเจริญอย่างมากมายในปัจจุบัน
การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่

    1)การ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12
    กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมะลายู
    กระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลใน การจัดเก็บภาษี และหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น
    2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับ
    กระทรวงมหาดไทยมีสมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมือง
    เป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน
    กำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน
    3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง
    “สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฎว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่ง
    จึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆ

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น